ภาษาโคราชเบื้องต้น รวมคำศัพท์และประโยคน่ารู้ของชาวนครราชสีมา

ภาษาโคราช คือ ภาษาท้องถิ่นของจังหวัดนครราชสีมา คาดว่าเป็นวัฒนธรรมที่ผสมระหว่างภาษากลางและภาษาอีสาน จนกลายเป็นภาษาท้องถิ่น

มีความเป็นเอกลักษณ์สูง มีศัพท์เฉพาะเยอะมาก คนภาคกลางอาจจะฟังภาษาอีสาน ภาษาเหนือพอรู้เรื่อง พอคุยได้ เนื่องจากรากศัพท์คล้ายกัน แต่ภาษาโคราชจะค่อนข้างฉีกออกไป เรารวบรวมคำที่นักท่องเที่ยวมักจะได้ยินบ่อยมาฝากกันครับ

คำศัพท์ภาษาโคราชเบื้องต้น

  • โพด : มาจากคำว่าโคตร เป็นคำลงท้ายที่เป็นคําวิเศษณ์ บ่งบอกถึงว่าเยอะมากๆ เช่น เสียงดังโพดๆ
  • จ่น : หมายถึง วุ่นวาย, ยุ่ง
  • เข่า : ในบริบทการพูดถึงอาหารจะหมายถึงข้าว เช่น เข่าเปียก หมายถึงข้าวต้ม
  • กิ๋น, จิ๋น : หมายถึง กิน, รับประทาน
  • เคียด : หมายถึง โกรธ คล้ายกับคำว่าเคียดแค้น
  • แจ้ง : หมายถึง ความสว่าง เช่น แจ้งแล้ว คือ เช้าแล้ว
  • เจ็บขี่, เจ็บเยี่ยว : หมายถึง อาการปวดปัสสาวะหรืออุจาระ
  • งึดหลาย : หมายถึง งงมากในอาการที่ประหลาดใจ
  • พอกะเทิน : หมายถึง การทำอะไรค้างไว้ เช่น ทำการบ้านไว้พอกะเทิน
  • พูดเดิม : หมายถึง นินทา
  • บ่อนนอน : หมายถึง ที่นอน
  • บ้านเอง : หมายถึง บ้านหรือภูมิลำเนา
  • สะออน : หมายถึง น่ารัก
  • หนหวย : หมายถึง รำคาญ
  • ไอ๋, ไอเยอ : หมายถึง อะไรนะ ว่าไงนะ
  • ดอกเด่ : หมายถึง ต่างหาก
  • โกรกกราก : หมายถึง รีบด่วน
  • สำมะปิ : หมายถึ สารพัด, จิปาถะ
  • กะไหน : หมายถึง ที่ไหน
  • ระอิ๊ก : หมายถึง หัวเราะ